Cart 0

My cart

มาตรฐานสารสกัด

มาตรฐาน

ข้อควรรู้กับปริมาณสารสกัดได้มาตรฐานและมีคุณภาพ การนำสารสกัดจากพืช สมุนไพร จากธรรมชาติต่างๆ นำมาเป็นวัตถุดิบหลักในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อเป็นอาหารเสริมให้กับผู้บริโภค โดยการคิดและคำนวณจาก สรรพคุณ และคุณสมบัติของการนำสารสกัดแต่ละชนิดมารวมผสมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับร่างกาย

ในปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสนใจในเรื่องสุขภาพ และบริโภคผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพมากกว่าผลิตภัณฑ์เสริมเคมี ซึ่งเป็นปัจจัยในการกระตุ้นความต้องการสารสกัดจากพืช จากธรรมชาติ จากสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น

ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส ทำให้ผู้บริโภคมีความสนใจในเรื่องสุขภาพขึ้นมากจึงถือเป็นยุคแห่งทางเลือกอาหารสุขภาพ ทั้งทางตรงจากพืชผัก ผลไม้ ที่ไร้สารเคมี ปลอดสารพิษ ดีต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม และทางอ้อมอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับความนิยมมากมายในปัจจุบัน ช่วยเสริมคุณค่าสารอาหารต่างๆที่ร่างกายต้องการ

  1. มีข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานที่เป็นไปตามวัตถุเจือปนอาหาร
  2. ได้รับการตรวจสอบความปลอดภัยจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้
  3. ใส่หรือบรรจุปริมาณตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด
  4. มีอยู่จริง ใช้เป็นอาหารและยาที่สามารถบริโภคได้มาเป็นเวลานานกว่า 15 ปี
  5. มีชื่อสารสำคัญที่ถูกต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
  6. ต้องมีกรรมวิธีการผลิต สารละลายที่ใช้ในกระบวนการการสกัดที่ระบุได้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

มาตรฐาน

แหล่งข้อมูลตรวจสอบสารสกัดที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ

สามารถตรวจสอบรายชื่อสารสกัดในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา https://www.asianbioplex.com/fda-dosage  

  • ประกาศ อย. รายชื่อพืชที่ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ฉบับที่ 1 ( 7 ส.ค. 2560 )

https://www.asianbioplex.com/wp-content/uploads/2018/12/600810_name.pdf

  • ประกาศ อย. รายชื่อพืชที่ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ฉบับที่ 2 ( 22 ส.ค. 2561 )

https://www.asianbioplex.com/wp-content/uploads/2018/12/PlantName_2.pdf

  • ข้อกำหนดการใช้ส่วนประกอบที่สำคัญของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดกรดอะมิโน

https://www.asianbioplex.com/wp-content/uploads/2018/12/Amino%20Acids_Food_Supplement.pdf

  • ข้อกำหนดการใช้ส่วนประกอบที่สำคัญของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดวิตามินและแร่ธาตุ

https://www.asianbioplex.com/wp-content/uploads/2018/12/Vitamins%20%26%20Minerals.pdf

  • หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเติมสารอาหารในผลิตภัณฑ์อาหาร (Nutrification)

https://www.fda.moph.go.th/sites/food/Permission/4.4.1-RuleNutrification_Edit1fab49.pdf

  • หลักเกณฑ์การเติมส่วนประกอบต่างๆในอาหาร

https://www.fda.moph.go.th/sites/food/Permission/4.3.2-RuleAddSomething.pdf

มาตรฐานสารอาหารที่แนะนำบริโภค

อีกหนึ่งมาตรฐานที่ควรรู้เกี่ยวกับสารอาหารที่ต้องได้รับในแต่ละวัน เพื่อไม่ให้การบริโภคที่มากเกินไปและน้อยเกินไป ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai Recommended Daily Intakes: Thai RDI) เป็นค่าอ้างอิงที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจัดทำขึ้น เพื่อใช้คำนวณและแสดงในฉลากโภชนาการ โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี โดยมีเกณฑ์ ดังนี้

  • โปรตีน ตามน้ำหนักตัว กรัม (เช่น น้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ควรได้รับโปรตีนต่อวันคือ 50 กรัม)
  • ไขมันทั้งหมด น้อยกว่า 65 กรัม
  • กรดไขมันอิ่มตัว น้อยกว่า 20 กรัม
  • คอเลสเตอรอล น้อยกว่า 300 มิลลิกรัม
  • คาร์โบไฮเดรต ทั้งหมด 300 กรัม
  • ใยอาหาร 25 กรัม
  • โซเดียม น้อยกว่า 2,400 มิลลิกรัม

มาตรฐาน

หลักเกณฑ์การเติมสารอาหารในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

ปริมาณสารอาหารที่ สนง.คณะกรรมการอาหารและยาอนุญาตให้เติม https://www.fda.moph.go.th/sites/food/Permission/4.3.2-RuleAddSomething.pdf

มาตรฐาน

มาตรฐาน

มาตรฐาน

  • วิตามินที่ละลายได้ในไขมัน 150% RDI
  • วิตามินที่ละลายได้ในน้ำ 200% RDI
  • เกลือแร่ทั่วไป 150% RDI
  • โซเดียม 100% RDI
  • เหล็ก , สังกะสี 120% RDI
  • ฟลูออไรด์ และไอโอดีน ต้องเป็นไปตามความเห็นชอบของ สนง.คณะกรรมการอาหารและยา

มาตรฐานวัตถุเจือปนอาหาร

มาตรฐาน

วัตถุเจือปนอาหาร หมายถึง เป็นวัตถุที่ตามปกติไม่ได้ใช้เป็นอาหารหรือส่วนประกอบที่สำคัญของอาหาร แต่ใช้เจือปนในอาหารเพื่อประโยชน์ทางเทคโนโลยีการผลิต การปรุงแต่ง รูป รส กลิ่นอาหาร การขนส่ง การบรรจุการเก็บรักษา ซึ่งล้วนมีผลต่อคุณภาพหรือมาตรฐาน หมายความรวมถึงวัตถุที่ไม่ได้เจือปนในอาหารเช่น วัตถุกันชื้น วัตถุดูดออกซิเจน เป็นต้น แต่ไม่รวมสารอาหาที่เติมเพื่อเพิ่มหรือปรับให้คงคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร เพื่อใช้เป็นประกาศฉบับหลักในการควบคุมและกำกับดูแลการใช้วัตถุเจือปนอาหารในผลิตภัณฑ์อาหารให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค https://www.fda.moph.go.th/sites/food/Shared%20Documents/GMP/GMPKM_4.pdf

โดยมีข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน ดังนี้

  1. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร
  2. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ.2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4)
  3. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 389) พ.ศ.2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5)
  4. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 417) พ.ศ.2563 เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไข วิธีการใช้ และอัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 1)
  5. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ.2563 เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไข วิธีการใช้ และอัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2)

เป็นเรื่องที่สำคัญอีกมาตรฐานที่ผู้บริโภคควรรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย โดยจะต้องมีการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานประเมินความปลอดภัยที่ สนง. คณะกรรมการอาหารและยาให้การยอมรับ จากประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเรื่อง รายชื่อหน่วยประเมินความปลอดภัยที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้การยอมรับ ปัจจุบันมี 3 หน่วยงาน

  1. สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  2. สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม
  3. ศูนย์ประเมินความเสี่ยงประเทศไทยสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

มาตรฐาน

แหล่งข้อมูลอื่นๆ เพื่ออ้างอ้งด้านความปลอดภัย

ข้อคิดเห็นหรือเอกสารทางวิชาการ (Scientific opinion) จากหน่วยงานประเมินความปลอดภัยที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น

  • CODEX
  • European Food Safety Authority (EFSA)
  • Center for Food Safety and Applied Nutrition (CFSAN)
  • Food Standard Australia New Zealand (FSANZ)

ข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบ / กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตผลิตภัณฑ์หรือวัตถุดิบในประเทศที่มีระบบประเมินความปลอดภัย หรือมีระบบในการกำกับดูแลก่อนออกสู่ตลาด เช่น สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา

มาตรฐาน

กล่าวโดยสรุป ปริมาณสารสกัดได้มาตรฐานและมีคุณภาพนั้น ต่างมีกฎระเบียบและข้อบังคับทั้งสิ้น โดยอ้างอิงตามประกาศจากหน่วยงานรัฐ เป็นเรื่องพื้นฐานของมาตรฐานที่ผู้บริโภคควรรับรู้ ในการบริโภคอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นๆ เพราะปริมาณของสารสกัดนั้นมีผลเกี่ยวข้องกับร่างกายของผู้บริโภคโดยตรงการใส่ในปริมาณมากเกินไป ไม่เพียงแต่เกิดโทษกับร่างกาย แต่ยังเป็นการละเมิดข้อกฎหมายตามประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขอีกด้วย

เพราะฉะนั้นก่อนจะบริโภคควรอ่านข้อมูล และตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ หรือการหาข้อมูลอ้างอิงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นๆ ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ มีคุณภาพ ตรวจสอบที่มาที่ไปของแหล่งวัตถุดิบได้ และเป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานที่ได้รับการประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อความปลอดภัยในสุขภาพของผู้บริโภค

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ผู้อ่านคงอยากรู้ข้อมูล รายละเอียด เกี่ยวกับสารสกัดว่าคืออะไร และมีที่มาที่ไป มีประโยชน์อะไรกับร่างกายทางด้านไหนบ้าง

สารสกัด คืออะไร

สารที่ได้จากกระบวนการแยกสารสำคัญหรือสารออกฤทธิ์ออกมา โดยการใช้ตัวทำลายที่เหมาะสม ทำการลายสารออกฤทธิ์ที่ต้องการ ออกมาจากเนื้อสิ่งมีชีวิตที่สกัดได้สามารถแบ่งสารสกัดได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

  1. สารสกัดหยาบ คือ สารสกัดที่ได้จากการสกัดขั้นตอนเดียว โดยใช้ตัวทำละลายชนิดเดียว สารสกัดที่ได้จะมีสารสำคัญหลายชนิดปะปนกันอยู่
  2. สารสกัดบริสุทธิ์ คือ สารสกัดที่ได้จากตัวทำละลายและนำเข้ากระบวนการแยกสารหลายขั้นตอน สารสกัดที่ได้จะมีชนิดเดียวหรือกลุ่มเดียวกัน

สารสกัด มีอะไรบ้าง

1.สารสกัดสมุนไพร คือ การสกัดสาระสำคัญในเนื้อสมุนไพรด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆ การทำให้สมุนไพรอยู่ในรูปของสารสกัด ทำให้ได้ตัวยาที่บริสุทธิ์ สามารถควบคุมความแรงของยาได้ง่ายขึ้น ยังเป็นการลดความเสื่อมสภาพของตัวยา อันเนื่องมาจากการกระทำของเอนไซม์ที่ปนอยู่ในสมุนไพร อีกทั้งทำให้ตั้งตำรับยาคงตัวง่ายขึ้นได้ผลิตภัณฑ์ที่สวยงามและน่าใช้ นอกจากนี้สารสกัดสมุนไพรยังทำให้อยู่ในรูปแบบยาเม็ดได้ดี ถูกดัดแปลงในรูปผงบรรจุแคปซูลหรือชาชงสมุนไพร เพื่อให้ทันสมัยและสะดวกในการรับประทานและสามารถพัฒนาจนเป็นยาฉีดที่ปลอดภัยได้

มาตรฐาน

2. สารสกัดจากพืช คือ สารสำคัญที่สกัดได้จากพืช เป็นตัวทำละลายรวมถึงวิธีการที่เหมาะสมในการสกัด ที่สำคัญต้องไม่เปลี่ยนองค์ประกอบของสารสกัดจากพืช โดยจะใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เช่น ราก หัว เหง้า เปลือก ลำต้น และใบ ซึ่งแต่ละส่วนเมื่อนำมาสกัดจะได้สารที่ออกฤทธิ์เฉพาะทาง มีความเป็นลักษณะเฉพาะตัวของพืชในแต่ละชนิด

3. สารสกัดจากธรรมชาติ คือ สาระสำคัญที่สกัดได้จากพืช สารสกัดจากธรรมชาติจะมีทั้งแบบแห้งด้วยวิธีการอบแห้ง และ แบบสารสกัด ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชและการนำไปใช้งาน โดยส่วนใหญ่วิธีการสกัดสารสกัดธรรมชาติมีหลากหลายวิธี การค้นน้ำสด การสกัด การต้ม การกลั่นด้วยไอน้ำ การสกัดด้วยตัวทำละลาย และจะถูกนำไปใช้งานทางด้านอาหาร , ยา , เครื่องสำอาง ไม่มีสารเคมีตกค้างจากยาที่มีผลต่อไตอย่างยาที่เป็นเคมีสังเคราะห์

ประโยชน์ ของสารสกัด

ด้านการเกษตร

การนำสารสกัดจากพืชมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรมีมาตั้งแต่สมัยอดีตที่ผ่านมา โดยนิยมนำไปใช้เพื่อใช้เป็นสารฆ่าแมลง นำไปใช้ในการควบคุมศัตรูพืช ทำให้แมลงกินพืช-ผลน้อยลง ลดการเจริญเติบโตของแมลง ลดการผลิตและการวางไข่ของแมลงตัวเมีย

  • การนำรากกระชายขาวมาตำกับตะไคร้ ข่า หอมแดงและใบสะเดาแก่ ให้ละเอียดแล้วนำมาผสมกับน้ำ ฉีดพ่นตามบริเวณที่มีสิ่งรบกวน
  • สารสกัดจากดีปลี มีฤทธิ์ในการฆ่าและควบคุมการเจริญเติบโต ยับยั้งการกินใบพืช ทั้งสารสกัดกระชายขาวและสารสกัดจากดีปลีนั้นช่วยฆ่าหนอนกระทู้ผัก

มาตรฐาน

ด้านความงาม

สารสกัดในกลุ่มนี้จะถูกนำมาเป็นส่วนผสมหลักเพื่อช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ เกี่ยวกับผิวพรรณทำให้กระจ่างใส ผิวกระชับ ชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ผิว ลดอัตราการสร้างสีเมลานินทำให้ผิวมีสีเข้มขึ้น บำรุงผิวพรรณ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆ

  • สารสกัดกระชายขาว เป็นสารสกัดสมุนไพรธรรมชาติเสริมความงาม ช่วยสร้างคอลลาเจน กระชับรูขุมขน ทำให้ผิวขาวกระจ่างใส ชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัย สามารถยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานินอีกด้วย
  • สารสกัดจากรากหม่อน หรือที่รู้จักกัน มัลเบอร์รี่ ผลไม้รสเปรี้ยวหวานเย็น เป็นสารสกัดจากสมุนไพรที่ช่วยลดจุดด่างดำบนใบหน้า ทำให้ผิวหน้าใสขึ้น

มาตรฐาน

ด้านการรักษา

สารสกัดจากพืชและจากธรรมชาติ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย โดยส่วนใหญ่จะถูกนำมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น

  • สารสกัดกระชายขาว นอกจากด้านความงามแล้ว สารสกัดกระชายขาวยังมีสรรพคุณและประโยชน์ที่นำมาใช้ทางด้านการรักษามากมาย จากงานวิจัยทางการแพทย์ยังนำสารสกัดกระชายขาวเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ และสารสกัดกระชายขาวยังมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ ลดการอักเสบของกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
  • สารสกัดจากระเทียม ถูกนำมาใช้ด้านการรักษา ช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอล ช่วยรักษาโรคทางเดินหายใจ เนื่องจากกระเทียมมีคุณสมบัติร้อนทำให้เกิดผลที่ดีต่อระบบทางเดินหายใจ การไหลเวียนโลหิต ทำให้ลดความดันโลหิตในเลือดได้ ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งอีกด้วย

มาตรฐาน

ด้านการส่งเสริมสุขภาพ

  • ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ทำงานได้ปกติ
  • เรื่องการนอนหลับ
  • การล้างสารพิษในร่างกาย ปรับสมดุล ระบบภายใน
  • เรื่องบำรุงกระดูกและข้อต่อ
  • ช่วยควบคุมน้ำหนัก
  • สมรรถภาพสำหรับเพศชาย
  • เรื่องระบบขับถ่าย แบคทีเรียลำไส้
  • ส่งเสริมระบบย่อยอาหาร
  • กลุ่มสำหรับเพศหญิง แม่ต้องการบำรุงหลังคลอด กระตุ้นการหลั่งน้ำนม
  • สร้างกล้ามเนื้อ การเจริญเติบโต การปวดเมื่อยร่างกาย ทางกายภาพต่างๆ
  • เรื่องผิวพรรณต่างๆ สิว ฝ้า ผื่นคันแดง โรคผิวหนังบางชนิด
  • บำรุงหัวใจ
  • บำรุงสมองและดวงตา
  • ช่วยต้านสารอนุมูลอิสระ

มาตรฐาน

 วิธีการสกัด สารสกัด

มาตรฐาน

  1. การสกัดด้วยการกลั่น (Distillation extraction)
  2. การสกัดโดยใช้ตัวทำละลายสกัด (Solvent extraction)
  3. การสกัดสมุนไพร (พืช) ด้วยของไหลวิกฤติยิ่งยวด (Supercritical fluid extraction)
  4. การสกัดสมุนไพรต่อเนื่อง (Continuous extraction)
  5. การสกัดด้วยวิธีเพอร์โคเลชัน (Percolation)
  6. การสกัดด้วยวิธีการหมัก (Maceration)
  7. การสกัดแบบต่อเนื่องโดยใช้ความร้อน (Soxhlet extraction)
  8. การสกัดของเหลวด้วยของเหลว (Liquid-liquid extraction)
  9. การสกัดน้ำมันหอมระเหย (Extraction of volatile oil)

เคล็ดไม่ลับมาตรฐานการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

1.มาตรฐานกระบวนการผลิตและการผลิต ควรตรวจสอบมาตรฐานของโรงงานขั้นพื้นฐานที่เป็นสถานที่ผลิตนั้น ผ่านมาตรฐานสากลระดับโลก GMP / HACCP / HALAL สามารถตรวจสอบได้จากรายละเอียดฉลากผลิตภัณฑ์

  • โดยตรวจสอบรายชื่อโรงงานผลิตผ่าน google.com เพื่อดูข้อมูลรายละเอียดของโรงงานผลิต ซึ่งการมีมาตรฐานรับรองจะเป็นตัวยืนยันว่าอาหารเสริมปลอดภัยและเชื่อถือได้
  • โดยตรวจสอบเลขผลิตภัณฑ์สุขภาพผ่าน https://oryor.com/check-product-serial เมื่อทำการกรอกเลขสารบบอาหาร 13 หลัก จะปรากฎรายละเอียดชื่อตราสินค้า ชื่อสินค้า ชื่อผู้ผลิต ตรงกับที่ระบุไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์หรือไม่? ถ้าไม่ตรงอาจเป็นไปได้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นปลอมแปลงฉลากหรือสวมเลขมาใช้

มาตรฐาน

2.สารสกัดหรือส่วนประกอบ อย่างที่แจ้งข้อมูลเรื่องมาตรฐานและวิธีการตรวจสอบสารสกัด ที่สามารถตรวจสอบได้ โดยหาข้อมูลในอินเตอร์ทุกครั้งว่า สารสกัดหลักจากธรรมชาติ มีสรรพคุณช่วยตรงตามที่คนขายได้ทำการโฆษณาหรือไม่? ปริมาณการใส่เกินจากที่กฎหมายบังคับไว้หรือไม่? หากทานไปจะมีผลข้างเคียงหรือไม่? มากน้อยแค่ไหน?

3.ความน่าเชื่อถือของแบรนด์ตราสินค้า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่น่าเชื่อถือจะไม่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงในด้านรักษาโรค หลักๆจะเน้นในเรื่องของการป้องกันโรค ส่งเสริมด้านสุขภาพด้านใดด้านนึง มีที่มาที่ไป ที่สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ไม่เพียงแต่จากการโฆษณา แต่ควรได้รับความน่าเชื่อถือแบบกลุ่มองค์กร หรือหน่วยงาน บริษัทที่มีชื่อเสียงเฉพาะทางด้านนั้นๆมาเป็นเวลานาน สำคัญเป็นที่ยอมรับจากกลุ่มผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก หรือแม้แต่การเป็นที่ยอมรับจากคนทั้งประเทศเองด้วย