ข้อควรรู้กับปริมาณสารสกัดได้มาตรฐานและมีคุณภาพ การนำสารสกัดจากพืช สมุนไพร จากธรรมชาติต่างๆ นำมาเป็นวัตถุดิบหลักในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อเป็นอาหารเสริมให้กับผู้บริโภค โดยการคิดและคำนวณจาก สรรพคุณ และคุณสมบัติของการนำสารสกัดแต่ละชนิดมารวมผสมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับร่างกาย
ในปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสนใจในเรื่องสุขภาพ และบริโภคผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพมากกว่าผลิตภัณฑ์เสริมเคมี ซึ่งเป็นปัจจัยในการกระตุ้นความต้องการสารสกัดจากพืช จากธรรมชาติ จากสมุนไพรเพิ่มมากขึ้น
ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส ทำให้ผู้บริโภคมีความสนใจในเรื่องสุขภาพขึ้นมากจึงถือเป็นยุคแห่งทางเลือกอาหารสุขภาพ ทั้งทางตรงจากพืชผัก ผลไม้ ที่ไร้สารเคมี ปลอดสารพิษ ดีต่อตนเองและสิ่งแวดล้อม และทางอ้อมอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับความนิยมมากมายในปัจจุบัน ช่วยเสริมคุณค่าสารอาหารต่างๆที่ร่างกายต้องการ
สามารถตรวจสอบรายชื่อสารสกัดในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา https://www.asianbioplex.com/fda-dosage
https://www.asianbioplex.com/wp-content/uploads/2018/12/600810_name.pdf
https://www.asianbioplex.com/wp-content/uploads/2018/12/PlantName_2.pdf
https://www.asianbioplex.com/wp-content/uploads/2018/12/Amino%20Acids_Food_Supplement.pdf
https://www.asianbioplex.com/wp-content/uploads/2018/12/Vitamins%20%26%20Minerals.pdf
https://www.fda.moph.go.th/sites/food/Permission/4.4.1-RuleNutrification_Edit1fab49.pdf
https://www.fda.moph.go.th/sites/food/Permission/4.3.2-RuleAddSomething.pdf
อีกหนึ่งมาตรฐานที่ควรรู้เกี่ยวกับสารอาหารที่ต้องได้รับในแต่ละวัน เพื่อไม่ให้การบริโภคที่มากเกินไปและน้อยเกินไป ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai Recommended Daily Intakes: Thai RDI) เป็นค่าอ้างอิงที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจัดทำขึ้น เพื่อใช้คำนวณและแสดงในฉลากโภชนาการ โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี โดยมีเกณฑ์ ดังนี้
ปริมาณสารอาหารที่ สนง.คณะกรรมการอาหารและยาอนุญาตให้เติม https://www.fda.moph.go.th/sites/food/Permission/4.3.2-RuleAddSomething.pdf
วัตถุเจือปนอาหาร หมายถึง เป็นวัตถุที่ตามปกติไม่ได้ใช้เป็นอาหารหรือส่วนประกอบที่สำคัญของอาหาร แต่ใช้เจือปนในอาหารเพื่อประโยชน์ทางเทคโนโลยีการผลิต การปรุงแต่ง รูป รส กลิ่นอาหาร การขนส่ง การบรรจุการเก็บรักษา ซึ่งล้วนมีผลต่อคุณภาพหรือมาตรฐาน หมายความรวมถึงวัตถุที่ไม่ได้เจือปนในอาหารเช่น วัตถุกันชื้น วัตถุดูดออกซิเจน เป็นต้น แต่ไม่รวมสารอาหาที่เติมเพื่อเพิ่มหรือปรับให้คงคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร เพื่อใช้เป็นประกาศฉบับหลักในการควบคุมและกำกับดูแลการใช้วัตถุเจือปนอาหารในผลิตภัณฑ์อาหารให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค https://www.fda.moph.go.th/sites/food/Shared%20Documents/GMP/GMPKM_4.pdf
โดยมีข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน ดังนี้
เป็นเรื่องที่สำคัญอีกมาตรฐานที่ผู้บริโภคควรรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย โดยจะต้องมีการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานประเมินความปลอดภัยที่ สนง. คณะกรรมการอาหารและยาให้การยอมรับ จากประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเรื่อง รายชื่อหน่วยประเมินความปลอดภัยที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้การยอมรับ ปัจจุบันมี 3 หน่วยงาน
แหล่งข้อมูลอื่นๆ เพื่ออ้างอ้งด้านความปลอดภัย
ข้อคิดเห็นหรือเอกสารทางวิชาการ (Scientific opinion) จากหน่วยงานประเมินความปลอดภัยที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น
ข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบ / กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตผลิตภัณฑ์หรือวัตถุดิบในประเทศที่มีระบบประเมินความปลอดภัย หรือมีระบบในการกำกับดูแลก่อนออกสู่ตลาด เช่น สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา
กล่าวโดยสรุป ปริมาณสารสกัดได้มาตรฐานและมีคุณภาพนั้น ต่างมีกฎระเบียบและข้อบังคับทั้งสิ้น โดยอ้างอิงตามประกาศจากหน่วยงานรัฐ เป็นเรื่องพื้นฐานของมาตรฐานที่ผู้บริโภคควรรับรู้ ในการบริโภคอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นๆ เพราะปริมาณของสารสกัดนั้นมีผลเกี่ยวข้องกับร่างกายของผู้บริโภคโดยตรงการใส่ในปริมาณมากเกินไป ไม่เพียงแต่เกิดโทษกับร่างกาย แต่ยังเป็นการละเมิดข้อกฎหมายตามประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขอีกด้วย
เพราะฉะนั้นก่อนจะบริโภคควรอ่านข้อมูล และตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ หรือการหาข้อมูลอ้างอิงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นๆ ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ มีคุณภาพ ตรวจสอบที่มาที่ไปของแหล่งวัตถุดิบได้ และเป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานที่ได้รับการประกาศจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อความปลอดภัยในสุขภาพของผู้บริโภค
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ผู้อ่านคงอยากรู้ข้อมูล รายละเอียด เกี่ยวกับสารสกัดว่าคืออะไร และมีที่มาที่ไป มีประโยชน์อะไรกับร่างกายทางด้านไหนบ้าง
สารที่ได้จากกระบวนการแยกสารสำคัญหรือสารออกฤทธิ์ออกมา โดยการใช้ตัวทำลายที่เหมาะสม ทำการลายสารออกฤทธิ์ที่ต้องการ ออกมาจากเนื้อสิ่งมีชีวิตที่สกัดได้สามารถแบ่งสารสกัดได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
1.สารสกัดสมุนไพร คือ การสกัดสาระสำคัญในเนื้อสมุนไพรด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆ การทำให้สมุนไพรอยู่ในรูปของสารสกัด ทำให้ได้ตัวยาที่บริสุทธิ์ สามารถควบคุมความแรงของยาได้ง่ายขึ้น ยังเป็นการลดความเสื่อมสภาพของตัวยา อันเนื่องมาจากการกระทำของเอนไซม์ที่ปนอยู่ในสมุนไพร อีกทั้งทำให้ตั้งตำรับยาคงตัวง่ายขึ้นได้ผลิตภัณฑ์ที่สวยงามและน่าใช้ นอกจากนี้สารสกัดสมุนไพรยังทำให้อยู่ในรูปแบบยาเม็ดได้ดี ถูกดัดแปลงในรูปผงบรรจุแคปซูลหรือชาชงสมุนไพร เพื่อให้ทันสมัยและสะดวกในการรับประทานและสามารถพัฒนาจนเป็นยาฉีดที่ปลอดภัยได้
2. สารสกัดจากพืช คือ สารสำคัญที่สกัดได้จากพืช เป็นตัวทำละลายรวมถึงวิธีการที่เหมาะสมในการสกัด ที่สำคัญต้องไม่เปลี่ยนองค์ประกอบของสารสกัดจากพืช โดยจะใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เช่น ราก หัว เหง้า เปลือก ลำต้น และใบ ซึ่งแต่ละส่วนเมื่อนำมาสกัดจะได้สารที่ออกฤทธิ์เฉพาะทาง มีความเป็นลักษณะเฉพาะตัวของพืชในแต่ละชนิด
3. สารสกัดจากธรรมชาติ คือ สาระสำคัญที่สกัดได้จากพืช สารสกัดจากธรรมชาติจะมีทั้งแบบแห้งด้วยวิธีการอบแห้ง และ แบบสารสกัด ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชและการนำไปใช้งาน โดยส่วนใหญ่วิธีการสกัดสารสกัดธรรมชาติมีหลากหลายวิธี การค้นน้ำสด การสกัด การต้ม การกลั่นด้วยไอน้ำ การสกัดด้วยตัวทำละลาย และจะถูกนำไปใช้งานทางด้านอาหาร , ยา , เครื่องสำอาง ไม่มีสารเคมีตกค้างจากยาที่มีผลต่อไตอย่างยาที่เป็นเคมีสังเคราะห์
การนำสารสกัดจากพืชมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรมีมาตั้งแต่สมัยอดีตที่ผ่านมา โดยนิยมนำไปใช้เพื่อใช้เป็นสารฆ่าแมลง นำไปใช้ในการควบคุมศัตรูพืช ทำให้แมลงกินพืช-ผลน้อยลง ลดการเจริญเติบโตของแมลง ลดการผลิตและการวางไข่ของแมลงตัวเมีย
สารสกัดในกลุ่มนี้จะถูกนำมาเป็นส่วนผสมหลักเพื่อช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ เกี่ยวกับผิวพรรณทำให้กระจ่างใส ผิวกระชับ ชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ผิว ลดอัตราการสร้างสีเมลานินทำให้ผิวมีสีเข้มขึ้น บำรุงผิวพรรณ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคต่างๆ
สารสกัดจากพืชและจากธรรมชาติ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย โดยส่วนใหญ่จะถูกนำมาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น
1.มาตรฐานกระบวนการผลิตและการผลิต ควรตรวจสอบมาตรฐานของโรงงานขั้นพื้นฐานที่เป็นสถานที่ผลิตนั้น ผ่านมาตรฐานสากลระดับโลก GMP / HACCP / HALAL สามารถตรวจสอบได้จากรายละเอียดฉลากผลิตภัณฑ์
2.สารสกัดหรือส่วนประกอบ อย่างที่แจ้งข้อมูลเรื่องมาตรฐานและวิธีการตรวจสอบสารสกัด ที่สามารถตรวจสอบได้ โดยหาข้อมูลในอินเตอร์ทุกครั้งว่า สารสกัดหลักจากธรรมชาติ มีสรรพคุณช่วยตรงตามที่คนขายได้ทำการโฆษณาหรือไม่? ปริมาณการใส่เกินจากที่กฎหมายบังคับไว้หรือไม่? หากทานไปจะมีผลข้างเคียงหรือไม่? มากน้อยแค่ไหน?
3.ความน่าเชื่อถือของแบรนด์ตราสินค้า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่น่าเชื่อถือจะไม่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงในด้านรักษาโรค หลักๆจะเน้นในเรื่องของการป้องกันโรค ส่งเสริมด้านสุขภาพด้านใดด้านนึง มีที่มาที่ไป ที่สามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ไม่เพียงแต่จากการโฆษณา แต่ควรได้รับความน่าเชื่อถือแบบกลุ่มองค์กร หรือหน่วยงาน บริษัทที่มีชื่อเสียงเฉพาะทางด้านนั้นๆมาเป็นเวลานาน สำคัญเป็นที่ยอมรับจากกลุ่มผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก หรือแม้แต่การเป็นที่ยอมรับจากคนทั้งประเทศเองด้วย