Cart 0

My cart

มาตรฐานการเลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

Why should you take dietary supplements?

เลือกผลิตภัณฑ์อาหารเสริม

ในยุคสมัยที่มีวิวัฒนาการไม่ว่าจะทางการแพทย์ เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ การสื่อสารที่ก้าวไกล มีผลทำให้อายุขัยของคนเพิ่มขึ้น เฉลี่ย 75.3 ปี และคนเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น แต่ด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบันทำให้ผู้คนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถดูแลโภชนการของตนเองได้อย่างเหมาะสมและได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นของความเสื่อมหรือความไม่สมบูรณ์กระบวนการต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่ได้สนใจในการดูแลสุขภาพตัวเองแล้วนั้น ใช้ร่างกายหักโหม พักผ่อนไม่เพียงพอ ดื่มน้ำน้อย ทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ด้วยแล้ว ยิ่งมีผลทำให้ร่างกายอ่อนแอ เป็นเหตุแห่งการเจ็บป่วยได้ง่ายมากขึ้น ดังนั้นการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงมีส่วนช่วยให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและทำให้การทำงานของร่างกายเป็นปกติได้

เหตุผลดีๆที่ต้องทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

  1. ร่างกายอาจขาดสารอาหารบางชนิด
  2. พฤติกรรมการรับประทานไม่ถูกต้อง มากเกินไป น้อยเกินไป
  3. ปัญหาความเสื่อม ถดถอย ของร่างกายเมื่อมีอายุมากขึ้น
  4. ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคได้ในระยะยาว
  5. การกินยาประจำเป็นเวลานาน อาจมีผลกระทบกับวิตามินและแร่ธาตุในร่างกายได้
  6. การประกอบอาหารที่หลากหลายขั้นตอนมากขึ้น ทำให้สูญเสียสารอาหารที่ไม่ได้รับในปริมาณเต็มที่
  7. การรับสารพิษเข้าไปในร่างกายจากสภาพอากาศ ดิน ฟ้า ลม ฝน ร่างกายได้สัมผัสอย่างเลี่ยงไม่ได้
  8. อาหารที่ดีมีมาตรฐานที่เชื่อถือ มีความปลอดภัยสูง และมีประสิทธิภาพ เป็นผลดีกับสุขภาพของผู้บริโภคอย่างแท้จริง
  9. สารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุบางชนิดร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ จึงต้องหาจากภายนอก
  10. ร่างกายมีความผิดปกติที่เกิดจากปัจจัยภายในร่างกายเอง พันธุกรรม หรือเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติที่ไม่สามารถรู้ก่อนได้ จนเมื่อมีอาการเจ็บป่วยนั้นแล้ว

เมื่อรู้เหตุผลแล้วว่าทำไมร่างกายต้องทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแล้ว หลายๆคนคงเกิดความสนใจอยากจะหาซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมาทานอย่างแน่นอน ว่าแต่จะรู้ได้ยังไงว่าร่างกายเรานั้นขาดสารอะไร แล้วสารอาหารอะไรที่ร่างกายต้องการ แล้วมีวิธีการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยังไง? เพื่อให้ปลอดภัยกับร่างกายในแต่ละวัน

วิธีเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

เลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

1.เลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากการตรวจสอบฉลากสินค้า ฉลากอย่างน้อยต้องมีข้อความตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 194) พ.ศ.2543 และ ฉบับที่ 252 (พ.ศ.2545) ตามสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดังนี้

  • ชื่ออาหาร Brand Name , Product Name
  • ปริมาณสุทธิ Net Weight
  • วันที่ผลิต MFG / MFD (Manufacturing date / Manufactured Date)
  • วันที่หมดอายุ EXP / EXD (Expiry Date / Expiration Date)
  • ควรบริโภคก่อนวันที่ BB / BBE (Best Before / Best Before End)
  • ชื่อ-ที่ตั้งสถานที่ผลิต/นำเข้า ผลิตโดย…………….. Manufactured By………………
  • สูตร ส่วนประกอบ Active Ingredients , Non Active Ingredients
  • เลขสารบบอาหาร เครื่องหมายแสดงการได้รับอนุญาตประกอบด้วยเลข 13 หลัก ที่แสดงจังหวัดของสถานที่ผลิต สถานะของสถานที่ผลิตหน่วยงานผู้อนุญาต เลขที่สถานที่ผลิต/นำเข้า หน่วยงานที่ออกเลขสารบบอาหาร ลำดับที่ของอาหารของสถานประกอบการนั้นๆโดยแสดงไว้ที่ฉลากสินค้า
  • สามารถนำเลข 13 หลักตรวจสอบได้ที่ https://oryor.com/check-product-serial

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

2. เลือกผลิตภัณฑ์จากสถานที่ผลิตที่ได้รับมาตรฐานสากล อย่างน้อยที่ต้องมีเพื่อเป็นมาตรฐานทางการผลิต ความปลอดภัย และตามบัญญัติศาสนาของผู้บริโภคด้วย ดังนี้

เลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

  • Good Manufacturing Practice (GMP) เป็นการรับรองการผลิตที่ได้มาตรฐานและความปลอดภัย
  • Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) การวิเคราะห์อันตรายจากผลิตภัณฑ์ที่มีต่อผู้บริโภค กำหนดมาตรการควบคุม และแก้ไขปัญหา ร่วมกับการใช้ผลการวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการ (Lab) เพื่อให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในคุณภาพและความปลอดภัยอย่างสูงสุด
  • Halal (ฮาลาล) “Halal Food” เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสำหรับหรับประชากรมุสลิมต้องได้รับการรับรองและอนุญาตโดยคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการประจำจังหวัด
  • Codex เป็นองค์กรและมาตรฐาน เพื่อการคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภคและการดูแลให้เกิดความเท่าเทียมกันในด้านการค้า ภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่าง องค์การอาหารและเกษตร (Food and Agriculture Organization : FAO) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO)
  • มาตรฐาน ISO 22000 มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของอาหาร Food Safety Management System: FSMS ระบบการจัดการความปลอดภัยของ อาหาร ครอบคลุมทั้งข้อกำหนดของ GMP, HACCP เน้นที่ผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาการจัดการความปลอดภัยของอาหารให้มีความชัดเจน
  • MST STANDARD ควบคุมและตรวจสอบ มาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์จากมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับและเชื่อถือได้

3. เลือกผลิตภัณฑ์จากส่วนผสม ส่วนประกอบ ปริมาณสารอาหาร เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้ และไม่ควรเลือกสารอาหารที่มีปริมาณมากเกินไปหรือมากกว่าปริมาณที่แนะนำต่อวัน เพราะอาจทำให้เกิดการสะสมเป็นเป็นอันตรายได้

4. เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีการวางจำหน่ายในสถานที่ได้รับอนุญาตการซื้อขายได้อย่างถูกต้อง มีหน้าร้านค้า หรือตามร้านขายยาชั้นนำ มีเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญแนะนำถึงประเภทที่ควรทานไม่ว่าจะเป็นวิตามินหรืออาหารเสริม เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเกิดผลดีต่อสุขภาพอย่างสูงสุด

5. เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไม่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ว่าสามารถแก้ปัญหาสุขภาพได้มากกว่าที่มีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนและอาจทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อ รับประทานหรืออาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้

วิธีเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

เลือกผลิตภัณฑ์อาหารเสริม

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในปัจจุบัน ผลิตออกมาหลากหลายรูปแบบ หลายขนาด แต่การจะเลือกซื้อยังไงให้ได้ปริมาณที่พอเหมาะและขนาดบรรจุเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย นอกจากหน่วยงานภาครัฐช่วยควบคุมและตรวจสอบ มาตรฐานการผลิตและความน่าเชื่อถือแบรนด์สินค้าเองแล้ว ยังมีคำแนะนำเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์ดังนี้

  1. แนะนำให้ซื้อในปริมาณที่พอดีกับระยะเวลาที่จำเป็นต้องรับประทานเพื่อเสริมสารอาหารนั้น หรือซื้อให้เพียงพอก่อนวันหมดอายุของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่กำลังตัดสินใจซื้อเพื่อลดปัญหาการรับประทานไม่ทัน เสื่อมคุณภาพ และได้รับประโยชน์น้อยลงหรือเป็นอันตรายได้
  2. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควรเก็บในที่ที่ไม่ถูกแสงแดด หรือร้อนจัด เช่น ริมหน้าต่าง ในรถยนต์ที่จอดกลางแจ้ง เนื่องจากวิตามินและแร่ธาตุบางชนิดไม่ทนต่อแสงแดดหรือความร้อนและอาจจะทำให้เสื่อมสภาพ
  3. วิตามินและแร่ธาตุ เมื่อถูกอากาศจากภายนอกอาจส่งผลทำให้วิตามินและแร่ธาตุเสื่อมสภาพได้ เมื่อเปิดฝารับประทานแล้วควรรีบปิดให้สนิท สำหรับผู้ที่ซื้อผลิตภัณฑ์มาในปริมาณมากในกระปุกใหญ่ๆ รับประทานไปเรื่อยๆ จำนวนเม็ดลดลงจะทำให้เกิดอากาศในกระปุกใหญ่มากกว่าในขนาดกระปุกเล็กๆ แนะนำให้เทแบ่งใส่ซองภาชนะบรรจุขนาดเล็กสีชา แล้วม้วนพันให้เล็กลงอีก เพื่อป้องกันการสัมผัสอากาศและแสงแดด
  4. ความชื้น มีผลให้วิตามินและแร่ธาตุเสื่อมสภาพเช่นกัน แต่หลายๆผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะบรรจุ “ซองกันชื้น” หรือ ซิลิกาเจล (silicon dioxide) สังเคราะห์มาจากโซเดียมซิลิเกต (Sodium silicate) มีลักษณะเม็ดเล็กๆสีใสคล้ายแก้ว คุณสมบัติพิเศษในการดูดซับความชื้นสูง 800 ตารางเมตรต่อซิลิกาเจล 1 กรัม ไม่แนะนำให้นำซองกันชื้นนี้ออกจากกระปุกผลิตภัณฑ์ เพื่อป้องกันความชื้นไม่ให้วิตามินและแร่ธาตุเสื่อมสภาพเร็ว

กล่าวโดยสรุป ผู้บริโภคควรพิจารณาคุณภาพของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นเบื้องต้นก่อน เพื่อความปลอดภัยในการรับประทาน และควรศึกษาขนาดการรับประทานที่เหมาะสมจากฉลากผลิตภัณฑ์ แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ หรือจากเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ และปฏิตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อสุขภาพที่ดีและเห็นผลที่ดีที่สุด