ปัจจุบันการนำพืชสมุนไพรมาเป็นทางเลือกในการรักษาและป้องกันโรค ทั้งในรูปแบบยา และรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นกระแสนิยมและถือเป็นทางเลือกหนึ่งการใช้ธรรมชาติบำบัดรักษา ทำให้รู้สึกถึงความปลอดภัยในการนำมาบริโภค เอ็มเมดสาระน่ารู้ มีเคล็ดไม่ลับ การใช้ยาสมุนไพรให้ถูกวิธี มาฝากสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ

   รศ.ดร.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า

   “ปัจจุบันการนำพืชสมุนไพรไทยมาใช้รักษาโรคมากขึ้น นำเอาภูมิปัญญาอันหาค่ามิได้ของไทยมาแต่โบราณ ได้รับการสนับสนุนจากทางรัฐบาล และกรมการแพทย์ทางเลือกให้นำสมุนไพรไทยมาใช้อย่างแพร่หลายในโรงพยาบาลทั่วประเทศ และเห็นผลสัมฤทธิ์ของพืชสมุนไพร”
   “ต่อยอดสู่การวิจัยและพัฒนาสมุนไพรไทยสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ การยกระดับการผลิตยาสมุนไพรตามมาตรฐานสากล รวมทั้งพัฒนาบุคลากรสำหรับงานการผลิตยาจากสมุนไพรให้มีคุณภาพ  และพัฒนางานต้นแบบการผลิตยาสมุนไพรจึงเป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยต้องให้การสนับสนุน ให้อุตสาหกรรมยาสมุนไพรได้พัฒนาอย่างมั่นคงและยั่งยืน”

     เกิดเป็นงานวิจัย สารสกัดกระชายขาวสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้ ที่เกิดจากความร่วมมือของคณะวิทยาศาสตร์ และ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)  หรือ TCELS พบว่า สารสกัดกระชายขาว สามารถทำหน้าที่ยับยั้งการผลิตและการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส  อีกทั้งยังสามารถลดจำนวนเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสได้กว่า 100%

     จากการวิจัยครั้งนี้ กระชายขาว หรือกระชายแกง จึงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางถึงประโยชน์ของกระชายขาวนั้นมากมาย กระชายขาวจึงเป็นหนึ่งในการผลิตยาจากสมุนไพรไทย เป็นสารสกัดที่สำคัญในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เอ็มเมดกระชายพลัส ผสมเบต้ากลูแคน วิตามินซี และวิตามินบี 1,6,12 ผลิตภัณฑ์คุณภาพควบคุมและตรวจสอบ ด้วยมาตรฐาน MST STANDARD จากมหาวิทยาลัยมหิดล นั่นเอง

สมุนไพร

สมุนไพร หมายถึง พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา ส่วนยาสมุนไพร หมายถึง ยาที่ได้จากส่วนของพืช สัตว์และแร่ ยังไม่ได้ถูกผสมปรุง หรือ แปรสภาพ ส่วนการนำมาใช้ มักจะดัดแปลงตามรูปลักษณะของสมุนไพรแต่ละชนิด เพื่อสะดวกต่อการนำมาใช้สะดวกมากขึ้น

สมุนไพรนอกจากนำมาใช้เป็นยารักษาโรคแล้ว สมุนไพรยังนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆ เช่น นำมาบริโภคเป็นอาหาร เป็นอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ เครื่องดื่ม สีผสมอาหาร และสีย้อม นำมาเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางค์ ทั้งยังนำมาใช้ในทางเกษตรสำหรับไล่แมลง ศัตรูพืชอีกด้วย

หลักการใช้ยาสมุนไพรไทย

เป็นข้อมูลพื้นฐานที่ต้องทำความรู้จักคุณสมบัติของสมุนไพรไทยแต่ละชนิด ก่อนจะนำมาใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บหรือบำรุงร่างกายได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี ตรงตามอาการของโรค เพื่อให้เกิดผลที่ดีในการใช้ยาสมุนไพรไทยรักษาโรค

สมุนไพร

การใช้สมุนไพรให้ถูกวิธี

สมุนไพรแต่ละชนิดจะมีการนำมาแปรรูปด้วยกระบวนการที่แตกต่างกัน

  • บางชนิดใช้แบบแห้ง (ตากแดดจนแห้ง)
  • บางชนิดต้องใช้แอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม
  • บางชนิดต้องนำมาผ่านความร้อนด้วยการต้ม จึงจะสามารถดึงเอาตัวยาสมุนไพรออกมาได้
  • บางชนิดต้องนำมาสกัดเพื่อให้ได้สารที่อยู่ในพืชสมุนไพรชนิดนั้นๆ
  • บางชนิดนำมาคั้นน้ำสดๆ รับประทานทันที
  • บางชนิดนำมากลั่นเพื่อให้ได้น้ำมันหอมละเหยมาใช้ประโยชน์
  • บางชนิดต้องผ่านการหมักสำหรับพืชสมุนไพรที่ไม่ทนต่อความร้อน

สมุนไพร

การใช้สมุนไพรให้ถูกโรค

สำคัญเลยควรเริ่มจากความถูกต้องในการวินิจฉัยโรค เพื่อที่จะเลือกใช้พืชสมุนไพรให้ตรงกับโรค ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ป่วยมีอาการถ่ายไม่ออก (ท้องผูก) ต้องใช้พืชสมุนไพรที่ให้ผลในการระบายท้อง หากไปใช้สมุนไพรที่มีรสฝาดก็จะทำให้อาการถ่ายไม่ออก (ท้องผูก) หนักยิ่งขึ้น

สมุนไพร

การใช้สมุนไพรให้ถูกต้อง

เนื่องจากในแต่ละท้องถิ่นจะเรียกชื่อ สมุนไพรชนิดเดียวกันแต่เรียกชื่อที่แตกต่างกันออกไป (มีหลายชื่อ) จึงควรให้ความสำคัญกับคุณสมบัติของพืชสมุนไพรชนิดนั้นๆ และลักษณะรูปร่างทางกายภาพ (ภายนอก) ของพืชสมุนไพรมากกว่าชื่อที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น

ยกตัวอย่างเช่น กระชาย หรือ ขิงจีน ประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่อสามัญอื่นอีก คือ

  1. กะแอน, ละแอน (อีสาน, เหนือ)
  2. กะซาย, ขิงซาย (อีสาน)
  3. จี๊ปู (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน)
  4. ซีพู (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน)
  5. เป๊าะซอเร้าะ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)
  6. เป๊าะสี่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)
  7. ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ)

การใช้สมุนไพรให้ถูกส่วน

ต้นสมุนไพรแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ เช่น ราก ดอก ใบ เมล็ด ผล ฯลฯ ซึ่งแต่ละส่วนของสมุนไพรจะออกฤทธิ์ในทางการรักษาโรคไม่เท่ากัน และไม่เหมือนกัน ดังนั้นการนำสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประสิทธิผลเต็มที่จึงต้องใช้ให้ถูกส่วนด้วยเช่นกัน

สมุนไพร

การใช้สมุนไพรให้ถูกขนาด

หมายความถึง ปริมาณสมุนไพรที่จะต้องนำมาใช้รักษาอาการของโรคแต่ละโรคจะใช้ปริมาณสมุนไพรที่ไม่เท่ากัน หากใช้สมุนไพรในปริมาณที่น้อยเกินไปจะเป็นการใช้ยาไม่ถึงขนาด การรักษาก็จะไม่เห็นผล ในทางกลับกันหากใช้สมุนไพรในปริมาณมากเกินไปอาจจะเป็นโทษกับสุขภาพร่างกายของผู้ป่วยได้ และยังเป็นการสิ้นเปลืองทั้งเงินและเวลาอีกด้วย

สมุนไพร

หลักในการพิจารณาและข้อแนะนำก่อนการพิจารณาเลือกใช้ หรือขณะใช้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร 

  1. ควรศึกษาว่าผลิตภัณฑ์นั้นประกอบด้วยสมุนไพรชนิดใดหรือมีส่วนประกอบของสมุนไพรใด หากมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นจะได้ทราบว่าเกิดจากสมุนไพรชนิดใด และเก็บข้อมูลในการระวังการใช้
  2. หมั่นสังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้สมุนไพรหากเกิดอาการผิดปกติเกิดขึ้นในระหว่างการใช้สมุนไพร ควรหยุดใช้ และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
  3. หญิงมีครรภ์หรือให้นมบุตร และเด็กไม่ควรที่จะใช้สมุนไพรถ้าไม่จำเป็น โดยเฉพาะสมุนไพรที่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันความปลอดภัย เนื่องจากสารบางชนิดในสมุนไพรสามารถผ่านรก ขับออกทางน้ำนม หรือมีผลต่อการเจริญเติบโตได้

เอกสารอ้างอิง

  1. https://www.wongkarnpat.com/viewya.php?id=559 บทความเผยแพร่ “กู้ชาติด้วยสมุนไพรไทย” สมุนไพรไทยสู่ตลาดโลกได้จริงหรือ?
  2. https://www.gj.mahidol.ac.th/main/ttm/herb-right/ บทความเผยแพร่ “ยาสมุนไพร ปลอดภัย เมื่อใช้ถูกหลัก” มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก