หน้าหนาวมาแล้ว ใครๆก็หลงรักอากาศเย็นสบาย ลมพัดโชย ดอกไม้บานสะพรั่งสีสันชวนหลงใหลให้ชื่นชมความสวย แต่รู้หรือไม่? ลมหนาว และอากาศที่เย็นสบายแบบนี้ มักจะแฝงมากับเชื้อก่อโรคที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอและเจ็บป่วย กรมควบคุมโรคประกาศ เตือนภัยโรคที่มากับหน้าหนาว ให้เฝ้าระวัง

มีเชื้อโรคหลายสายพันธุ์ที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะอุณหภูมิลดต่ำลง อากาศเย็นเอื้อต่อการอยู่รอดของเชื้อไวรัสได้เป็นอย่างดี และแพร่กระจายตัวได้รวดเร็ว ทำให้มีโอกาสติดเชื้อและเจ็บป่วยได้ง่าย จึงต้องหมั่นล้างมือบ่อยๆ และดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรงต่อสู้กับเชื้อก่อโรคต่างๆ

สุขภาพที่แข็งแรงเป็นสิ่งสำคัญ การป้องกันโรคที่ดีที่สุด คือการดูแลรักษาสุขภาพตัวเอง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน หมั่นออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา สูบบุหรี่ และสารเสพติด ส่งผลให้ร่างกายเสื่อมโทรม มีโอกาสติดเชื้อก่อโรคได้ง่าย

รับประทานวิตามินและอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ หรือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อช่วยเสริมภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ให้ร่างกายทำงานอย่างปกติ กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ร่างกายด้วยการรับประทานสมุนไพรด้วย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เอ็มเมดกระชายพลัส มีงานวิจัยรองรับว่า สารสกัดกระชายขาวสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้ มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ด้วยส่วนผสมเบต้ากลูแคน วิตามินซีและวิตามินบี ที่ช่วยต้านการอักเสบและลดการติดเชื้อให้ร่างกาย และช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคหวัด และบำรุงระบบประสาทและสมอง

โรคที่มากับหน้าหนาวมีตั้งแต่ขั้นไม่รุนแรงไปจนถึงขั้นรุนแรงและอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน สำหรับวัยที่มีความเสี่ยงที่จะป่วยง่ายในช่วงหน้าหนาว กลุ่มของเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ระบบภูมิร่างกายมีความบกพร่อง จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ กับโรค 3 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ

กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคหวัด Common Cold , ไข้หวัดใหญ่ Influenza , โรคปอดอักเสบ Pneumonia , หลอดลมอักเสบ Acute Bronchitis โรคหวัด เป็นโรคที่คนป่วยบ่อยและมากที่สุดกว่าโรคอื่นๆ (โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 6 ปี) ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ อยู่ในสถานที่แออัดและผู้คนพลุกพล่าน มีอากาสติดเชื้อได้ง่ายและเจ็บป่วยได้มากกว่าโรคอื่นๆ

โรคหน้าหนาว

โรคระบบทางเดินหายใจ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน

  1. โรคระบบทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ โรคหวัด , ไข้หวัดใหญ่ (เชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา Influenza Virus) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส (virus) โดยเฉพาะ ไรโนไวรัส (Rhinoviruses) เป็นเชื้อไวรัสที่พบมากที่สุดและเป็นสาเหตุสำคัญของโรคไข้หวัด ไข้หวัดเป็นโรคติดเชื้อผ่านทางสารคัดหลั่งของร่างกาย น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ การสัมผัสผู้มีเชื้อ หรือการหายใจเชื้อเข้าไปในร่างกาย จากการไอ จาม เชื้อโรคสัมผัสกับจมูกหรือตา ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการป่วย จะมีอาการประมาณ 5-7 วันก็จะหายเป็นปกติ บางรายร่วมกับการติดเชื้อแบคทีเรีย (bacteria) แทรกซ้อนจะทำให้มีอาการไข้สูง หนาวสั่น ไอ เจ็บคอ น้ำมูกข้นเหลืองหรือเขียว คัดจมูก แสบตา น้ำตาไหล ตาแดง บางรายอาจมีอาการท้องเสียร่วม อาจทำให้เป็นต่อมทอนซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรีย
  2. โรคระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ โรคปอดอักเสบ และหลอดลมอักเสบ เป็นโรคที่พบได้บ่อย มีอาการตั้งแต่รุนแรงน้อย รุนแรงถึงขั้นสียชีวิตได้ และโรคปอดอักเสบ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคหลอดลมอักเสบเกิดได้จากหลายสาเหตุ การติดเชื้อ การแพ้ การระคายเคืองจากสารเคมี โดยอาการของโรคจะเริ่มต้นจากการเป็นโรคหวัดก่อน จะมีอาการ น้ำมูกใส มีไข้ ไอ เริ่มต้นไอแห้งๆ ตามมาด้วยเสมหะขาวใสหรือเหลืองบางรายออกสีเขียว ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรคที่ได้รับเชื้อเข้าไป เป็นไปได้ทั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย อาการไอถือเป็นอาการหลัก บางรายไอมากจนอาเจียน หรือไอจนนอนไม่ได้ บางครั้งจะมีลักษณะของอาการหอบร่วมด้วย

วิธีดูแลตัวเอง

  • ทำให้ร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ สวมใส่เสื้อผ้าหนาเพื่อป้องกันอากาศหนาวเย็นเกินไป
  • หลีกเลี่ยงอย่าใช้มือสัมผัสสิ่งต่างๆ ก่อนและหลังรับประทานอาหาร หรือเข้าห้องน้ำ ควรหมั่นล้างมือทำความสะอาดเสมอ
  • หลีกเลี่ยง เข้าใกล้ และสัมผัสผู้ป่วยที่ติดเชื้อ มีอาการไอ จาม สวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ กรณีที่ต้องใกล้ชิดหรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมทั้งหลีกเลี่ยงในพื้นที่แออัด
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ รวมทั้งการดูแลร่างกายให้แข็งแรงเป็นพิเศษเพิ่มขึ้นด้วยการรับประทานวิตามินและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย

กลุ่มโรคระบบทางเดินอาหาร

โรคหน้าหนาว

กลุ่มโรคระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ท้องเสีย อุจจาระร่วง ภาวะลำไส้แปรปรวน ติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ท้องอืด แน่นท้อง ล้วนเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus) พบได้ในช่วงที่อากาศเย็นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ที่สำคัญสามารถเป็นซ้ำและแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็ว เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อเข้าไป หรือการสัมผัสเข้ากับเชื้อไวรัสโรต้าโดยตรง

อาการที่พบเมื่อได้รับเชื้อไวรัสชนิดนี้ คือ อาเจียน ถ่ายเหลว ท้องเสียอย่างหนัก มีไข้สูง สำหรับเด็กหรือผู้ที่มีภูมิต้านทานเชื้อต่ำ อาจจะทำให้มีอาการชัก ช็อกหรือเสียชีวิตได้ เพราะไข้สูง และเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรง ร่างกายสูญเสียน้ำเป็นจำนวนมาก ให้สังเกตร่างกายเมื่อมีการขาดน้ำจะมีอาการ ปากแห้ง กระหายน้ำ ซึม ถ่ายเป็นมูกเลือด และเพลียมาก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

วิธีดูแลตัวเอง 

  • สำหรับเด็กเล็กควรได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโรต้า เพื่อลดความรุนแรงของโรค
  • ก่อนและหลังรับประทานอาหารควรล้างมือเสมอ และไม่ควรใช้ช้อนส้อมร่วมรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอ กินร้อน ช้อนกลาง รวมทั้งการดื่มน้ำให้สะอาด
  • ล้างมือให้สะอาดและฟอกสบู่ตามทุกครั้งหลังเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เด็ก เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่มาจากอุจจาระ

กลุ่มโรคผิวหนัง

โรคหน้าหนาว

เมื่อเข้าหน้าหนาวสิ่งที่ต้องดูแลและทำให้อบอุ่นไว้ก็คือ ผิวหนัง ของเรานั่นเอง เนื่องจากเมื่ออากาศเย็น อากาศจะแห้งทำให้ผิวหนังขาดความชุ่นชื้นและทำให้สูญเสียน้ำมากกว่าปกติ ทำให้ผิวหนังแห้ง เป็นขุย ลอก ระคายเคือง คัน ผื่นแดง ทำให้แบคทีเรียที่ผิวหนังเพิ่มมากขึ้น

  1. โรคสุกใส (อีสุกอีใส) เกิดจากเชื้อไวรัส วาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella-Zoster Virus) เป็นโรคที่ได้รับโดยตรงจากการสัมผัสถูกเชื้อ อาการเริ่มต้นจะมีผื่นคัน มีไข้ เบื่ออาหาร ปวดศรีษะ อ่อนเพลียเมื่อยล้า ไม่สบายตัว มีตุ่มสีชมพูแดง บนผิวหนังทั่วทั้งตัว จะมีตุ่มน้ำ เมื่อตุ่มน้ำแตกก็จะตกสะเก็ดโดยใช้ระยะเวลาการติดโรคประมาณ 10-20 วัน
  2. โรคงูสวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งเป็นเชื้อไวรัสชนิดเดียวกันกับโรคสุกใส แต่เชื้อจะหลบซ่อนอยู่ในร่างกายของเรา แต่จะมีอาการแสดงของโรคต่อเมื่อ ร่างกายมีภูมิร่างกายที่ต่ำกว่าปกติ พักผ่อนไม่เพียงพอ มักจะเกิดกับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน ทำให้เชื้อที่หลบซ่อนหรือแฝงอยู่ในร่างกายแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมาก ส่งผลให้เส้นประสาทอักเสบ เกิดอาการปวดร้อนตามแนวเส้นประสาท ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแสบร้อนที่ผิวหนัง มีไข้ มีผื่นแดง ตุ่มน้ำใส
  3. โรคหัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหัด (Measles virus) การแพร่กระจายของเชื้อผ่านระบบทางเดินหายใจและแพร่กระจายได้เร็วจาก 1 คน สามารถแพร่ได้ถึง 15 คนในการสัมผัสติดเชื้อเพียงคนเดียว เมื่อได้รับเชื้อจะมีอาการ มีไข้สูง ไอ น้ำมูก ตาแดง มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย สำหรับผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาการป่วยจะรุนแรงมากกว่า และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ เช่น ปอดอักเสบ สมองอักเสบ ภาวะท้องร่วงฉับพลัน อันตรายถึงชีวิตได้
  4. โรคผื่นภูมิแพ้ (Atopic dermatitis) เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของผิวหนัง มีผื่นแดงผิวหนังแห้งอักเสบ มีอาการคันร่วมโดยเฉพาะเวลากลางคืน สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่มีระบุแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากพันธุกรรม ซึ่งผู้ป่วยจะมีการตอบสนองที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของผิวหนัง และมีสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกระตุ้นให้ผื่นรุนแรงขึ้น อาการของโรคจะกำเริบขึ้นเมื่อ อากาศเปลี่ยนแปลง ถูกสารระคายผิว ร่างกายมีการติดเชื้อ หรือแพ้อาหารที่รับประทานเข้าไป

วิธีดูแลตัวเอง  

  • สำหรับเด็กและผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรค ควรรับวัคซีนป้องกันความรุนแรงของโรค และควรได้รับซ้ำตามปริมาณและจำนวนครั้งที่แพทย์กำหนด
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อ ป้องกันด้วยการหมั่นล้างมือบ่อยๆ และฟอกสบู่ตามด้วยทุกครั้ง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์กับร่างกาย เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย หลีกเลี่ยงสารอาหารที่แพ้ และสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการของโรค
  • ดูและตัวเองด้วยการพักผ่อนมากๆและดื่มน้ำสะอาด ให้เพียงพอในแต่ละวัน รวมไปถึงการทาครีมหรือโลชั่นบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น เพื่อป้องกันผิวหนังแห้ง

สรุป

เมื่อรู้จักกับกลุ่มโรคที่มากับหน้าหนาวแล้ว รู้สาเหตุและอาการของโรค รวมทั้งรู้วิธีดูแลตัวเองแบบนี้แล้ว อย่าลืมดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน ต้านทานเชื้อก่อโรคต่างๆได้ สำคัญคือการดูแลสุขภาพด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด ออกกำลังกายบ้าง ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

รวมไปถึงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้ตัวเองด้วยวิตามินอาหารเสริม หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และมีสุขภาพที่ดีขึ้น ที่สำคัญต้องเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ปลอดภัย มีมาตรฐานที่ดีรองรับ น่าเชื่อถือได้ทุกกระบวนการผลิตและได้รับมาตรฐานสากลเป็นที่ยอมรับ เพื่อสุขภาพที่ดีอย่างแท้จริง